xs
xsm
sm
md
lg

จุฬาฯ ไขข้องใจ ทำไม! ห้างสรรพสินค้า-ร้านสะดวกซื้อ “ไม่แจกถุงที่ย่อยสลายได้แทน"

เผยแพร่:





นับตั้งแต่วันดีเดย์ 1 มกราคม 2563 ที่ภาคีห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ พร้อมปฏิบัติการงดแจกฟรีหรือไม่ใส่ถุงพลาสติกหูหิ้วแก่ลูกค้า ก็เกิดข้อสงสัยและถกเถียงกันอย่างมากมาย โดยเฉพาะประเด็นที่ผู้บริโภคขาดความสะดวกสบายจากการได้ถุงฟรีนั้นเป็นการสร้างภาระกับผู้บริโภค
เพราะไม่นำถุงแบบอื่นมาทดแทนให้ลูกค้าแบบฟรีๆ!
ประเด็นดังกล่าว ทางเพจ CHULA Zero Wasteได้อธิบายในแง่สิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบว่า ก่อนเจ้าถุงทดแทนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงกระดาษ ถุงสปันบอนด์ หรือถุงผ้าฝ้าย จะผลิตขึ้นมานั้นต้องปล่อยคาร์บอนในการผลิตมากกว่าถุงพลาสติกหลายเท่า แต่คุณสมบัติที่ได้กลับไม่ได้ทนทานขนาดนั้น แถมถุงพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ในปัจจุบัน ต้องถูกจัดการในระบบเฉพาะที่ พอจะรวบรวมก็ยากอีก และอาจปนเปื้อนเข้าสู่ระบบรีไซเคิลอื่นๆ ได้ (เพราะแค่ให้แยกระหว่างถุงพลาสติกย่อยสลายได้กับถุงพลาสติกชนิด Oxo ก็ลำบากแล้ว)


ส่วนกรณีของถุงผ้าสปันบอนด์ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า นอกจากใช้เวลาย่อยสลาย 5-10 ปี แม้จะย่อยสลายเร็วกว่าถุงพลาสติก แต่รู้หรือไม่ว่า อันตรายก็มากเพราะด้วยลักษณะที่ยุ่ยง่าย ทำให้ละลายในน้ำ ปะปนไปกับสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร โดยสปันบอนด์ แค่ถูกความร้อนก็กลายเป็นผง ออกเป็นไมโครพลาสติก และปะปนไปกับแหล่งน้ำ ปนปนไปอยู่ในตัวของสัตว์น้ำต่างๆ อย่างปลา และหากเรากินเข้าไป สารเหล่านี้ก็จะไปสะสมในร่างกาย และมีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งได้

ถุงผ้าสปันบอนด์

3 เดือนที่ผ่านมา จุฬาฯ ส่งพลาสติกไปรีไซเคิลกว่า 70 กิโลกรัม ให้กับทางโครงการ “วน” ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมได้ ไม่มีกำหนดปิดรับ ดูประเภทพลาสติกที่เปิดรับและจุดบริจาคในจุฬาฯ ได้ที่นี่เลยhttps://www.facebook.com/chulazerowaste/posts/2430130933870701
ดังนั้น กุญแจสำคัญไม่ใช่อยู่ที่การผลิตวัสดุใหม่ทดแทนแล้วให้ฟรีเหมือนเดิม (จนติดเป็นนิสัยมายาวนาน) แต่เป็นการใช้ซ้ำ (Reuse) ของที่เรามีอยู่ให้ได้คุ้มค่าที่สุด ทางจุฬาฯ จึงเลือกที่จะจำหน่ายถุงพลาสติกรีไซเคิลได้ 100% ในราคาใบละ 1-2 บาท เพื่อให้ลูกค้าได้หยุดคิดถึงความจำเป็น (ที่ผ่านมาลดปริมาณถุงไปได้กว่า 80%) ซึ่งสะท้อนถึงการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ “พอมันมีราคา...ก็ยากที่จะทิ้งกันแบบไม่ใยดี" และตัวถุงที่จำหน่ายยังมีความเหนียว หนา ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง หากชำรุดก็สามารถส่งรีไซเคิลกับโครงการ"วน"ได้ตามจุดรับในมหาวิทยาลัย ซึ่งทางจุฬาฯ ร่วมด้วยเพื่อการรีไซเคิลทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด และลดการผลิตใหม่
ส่วนห้างร้านจะเลือกวิธีไหนไปปรับใช้กับลูกค้า น่าจะแตกต่างกันไปตามนโยบาย แต่ทางจุฬาฯ เชื่ออย่างหนึ่งว่า การแจกถุงประเภทอื่นๆ มาทดแทนนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนเสมอไป แต่ควรจะต้องปฎิบัติจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งทางห้างร้านควรแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงต้นตอของปัญหานี้จริงๆ


ข้อมูลอ้างอิง CHULA Zero Waste
- ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งฯ https://bit.ly/2Cz5vjN
- ส่งถุงพลาสติกไปโครงการ"วน"https://www.facebook.com/chulazerowaste/posts/2513992742151186
https://www.facebook.com/chulazerowaste/posts/2430130933870701
-นักเคมีเตือนอย่าใช้ถุงผ้า “สปันบอนด์” https://www.pptvhd36.com/news
กำลังโหลดความคิดเห็น