xs
xsm
sm
md
lg

“อ.ทวีสุข” เตือนตอนนี้แค่เริ่มต้น เตรียมรับมือสึนามิการล้มละลายในไตรมาส 2-3

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“อ.ทวีสุข เตือนตอนนี้แค่เริ่มต้น เตรียมรับมือสึนามิการล้มละลายในไตรมาส 2-3 ชี้กระทบเป็นคลื่นใหญ่ อุตสาหกรรมโรงแรมโดนก่อน ตามด้วยการบิน การท่องเที่ยว ยาวไปถึงเอสเอ็มอี ลั่นหากเกิดโควิดระบาดรอบสอง รัฐบาลทั่วโลกเกินรับมือจะเกิดเกรตดีเปรสชันรุนแรงกว่า 100 ปีที่แล้ว

วันที่ 15 มิ.ย. 63 อ.ทวีสุข ธรรมศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ได้ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่องนิวส์วัน ในหัวข้อ “จากโควิด-ปิดเศรษฐกิจ ถึงสึนามิล้มละลาย”

อ.ทวีสุขกล่าวว่า ตอนนี้เป็นมหกรรมการพิมพ์เงินครั้งใหญ่ ทุกประเทศในโลกพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบกันเป็นว่าเล่น อันนี้เป็นเหตุผลที่เงินล้นขึ้นมาเรื่อย ๆ เหตุการณ์ในอเมริกาตอนนี้ นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็บอกยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0-0.25% แต่โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นระยะสั้น คงไม่คิดว่าอัตราดอกเบี้ยอเมริกาจะติดลบแบบในยุโรป เพราะดอกเบี้ยของเฟดอ้างอิงกับตราสารอนุพันธ์ค่อนข้างมาก คาดการณ์ของตลาดอยู่สักประมาณ 500 ล้านล้านเหรียญ ประมาณ 5 เท่าของจีดีพีโลก ซึ่งหากเกิดอะไรขึ้น สถาบันการเงินจะรับไม่อยู่ แล้วจะรุนแรงกว่าปี 2008 ตราสารบ้านล้มละลาย

ตอนนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ อัดเงินเข้าระบบทุกวัน ใช้ในการซื้อพันธบัตรทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงจังก์บอนด์ หนี้สาธารณะอเมริกาตอนนี้ เพิ่ม 2 ล้านล้าน กลายเป็น 26 ล้านล้าน เกินจีดีพีประมาณ 107%

อ.ทวีสุขกล่าวอีกว่า ตลาดหุ้นที่ดีดขึ้นมาของอเมริกากลุ่มแบงก์ไม่ได้ขึ้น ของบ้านเรากับฮ่องกงจะเป็นเทคนิเคิลรีบาวด์ แต่แนวโน้มกลุ่มแบงก์ปรับลง รวมกับข่าวที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ขายหุ้นออกมาเกือบหมดเลย ตัวที่ดันดัชนีกลับเป็นกลุ่มบิ๊กแคป ดาวน์โจนส์ไม่ได้ทำออลไทม์ไฮ เอสแอนด์พียังไม่ไปถึงออลไทม์ไฮ

แต่ตัวที่ทำออลไทม์ไฮกลับเป็นแนสแดค ที่น่าสนใจบริษัทในนั้น 40% ถึงเกือบ 50% รายได้กำลังจะเข้าสู่สภาวะติดลบจนถึงขาดทุน แล้ว 40% ในตลาดหุ้นอเมริกามีความเสี่ยงที่กำลังจะเข้าสู่สภาวะขาดทุน บางเจ้าอาจใช้เวลาแค่ข้ามคืนล้มละลาย เพราะว่าแต่ละบริษัทไม่ได้มีสภาพคล่องเงินสด รวมทั้งกรณีทรัมป์ ทำเรื่องของโครงการเทรดต่างๆ ที่มีปัญหากับจีน มันกำลังจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมโลก ซึ่งคนอเมริกากับจีนเองก็ไม่ได้ชอบ ถ้าตัดกันขึ้นมาจริงๆ วอลุ่มการขายหายทันที แล้วจะเกิดการตกงานครั้งใหญ่

การล็อกดาวน์ และการประท้วง ถ้าโควิดไม่หยุด อาจเข้าสู่เกรทดีเปรสชันครังใหญ่ และรุนแรงกว่า 100 ปีที่แล้ว เพราะโครงสร้างมันง่อนแง่นกว่า 100 ปีที่แล้วมาก

อ.ทวีสุขกล่าวว่า ตอนนี้เพิ่งเริ่มต้นของกระแสการล้มละลาย คงต้องใช้คำว่าไตรมาสที่ 2-3 เป็นต้นไป เตรียมที่จะต้องรับมือสึนามิของการล้มละลายได้เลย

คลื่นการล้มละลาย อุตสาหกรรมโรงแรมมาอันดับหนึ่ง อุตสาหกรรมต่อเนื่องคือ การบิน ไตรมาสที่ 3 จะเห็นการล้มละลายของอุตสาหกรรมการบิน ตามมาด้วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ถัดมาการที่คนลดการซื้อของ ของใหญ่เริ่มมีปัญหา ทั้งอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จะเกิดการล้มละลายต่อเนื่อง มาถึงร้านค้า SMEs พอร้านค้าอยู่ไมได้ก็กระทบค่าเช่า เจ้าของที่ให้เช่าเริ่มมีปัญหา นี่คือบิ๊กเวฟขนาดใหญ่

อ.ทวีสุขกล่าวอีกว่า หากเกิดการตีกลับของอัตราดอกเบี้ยขององค์กรของแต่ละบริษัท จะเกิดสภาวะการเสื่อมค่าของเงิน และทำให้ทุกคนที่มีหนี้อยู่ เกิดทรุดตัวทันที ตรงนี้จะเกิดเป็นเวฟใหญ่เข้าไปสู่ตัวสถาบันการเงิน ก็คือระบบธนาคาร ว่าจะยืนอยู่ได้หรือไม่ เห็นแล้วว่าตอนนี้หนี้เสียในธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น และถ้าหากเกิดการล้มละลายของธนาคารทั่วโลกพร้อมๆ กัน จะเกิดเกรทดีเปรสชันใหญ่กว่า 100 ปีที่แล้ว

อ.ทวีสุขกล่าวถึงกรณีของไทยว่า ตอนนี้ระบบภายในสามารถขับเคลื่อนได้ แม้อาจไม่ปกติ ปัญหาใหญ่ของเราคือการส่งออก การท่องเที่ยว คือสัดส่วนใหญ่ของรายได้ โจทย์ใหญ่ คืออย่าให้โควิดกลับมาระบาดรอบ 2 เพราะรัฐบาลไม่มีเครื่องมือเหลือที่จะทำแบบ 3 เดือนนี้ได้อีกครั้ง ตอนนี้ทุกคนทำดีอยู่แล้ว ทำให้เราประคองอยู่ได้ ส่วนการท่องเที่ยว การส่งออกจะเป็นปัญหายาว ตราบใดที่ยังไม่ค้นพบวัคซีนจะเกิดการกลัว เลยทำให้ทุกอย่างชะลอไปเรื่อยๆ หากยังชะลอต่อเนื่อง มีโอกาสมากที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่เกรทดีเปรสชันพร้อมกันในช่วงของปีหน้า ตอนนี้เราอยู่ช่วงสเต็ปที่ 1 ของการเกิด เพียงแต่ว่ายังไม่เข้าสู่สภาวะการล้มละลายขนาดใหญ่ เพื่อไปสู่การล้มของระบบธนาคาร ซึ่งแบงก์ชาติของเราเห็นโจทย์ เลยต้องขอเครื่องมือรัฐบาล เพื่อช่วยกองทุนตราสารหนี้เอกชน ตรงนี่คือโจทย์ใญ่ ต้องทำอย่างไรให้ล้มละลายน้อยที่สุด ทำให้ระบบธนาคารไม่เข้าสู่ภาวะมีปัญหา

อ.ทวีสุขยังกล่าวว่า ตั้งแต่นายสมคิดเข้ามาเป็นรัฐบาล ดันเศรษฐกิจด้วยการให้ประชาชนเพิ่มหนี้ด้วยการบริโภค หนี้ครัวเรือนจาก 50% ขึ้นไปเป็น 80% 6.6 ล้านล้าน 4.5 ล้านล้าน เป็นเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณ 25% เป็นบ้านหลังที่ 2 คนหนึ่งมีบ้านเกิน 2 หลัง และเป็นนวัตกรรมทางการเงิน คือซื้อบ้านมีเงินทอน ปี 2008 ซื้อบ้านดาวน์ 2.3% ยังเกิดวิกฤตซับไพรม์ ตอนนี้คนเหล่านี้กำลังจะตกงาน แล้วไม่ได้มีเงินจะเข้ามาจ่าย ตรงนี้มีอยู่ประมาณ 1.1-1.4 ล้านล้าน ธนาคารต้องไปจัดการตรงนี้ให้ได้ จะยื้อยังไงก็ได้ แต่อย่าให้ NPL มันกลับ จะเห็นว่า NPL ต้นปีจาก 3 ตอนนี้ขึ้นมาเป็น 3.5 แต่หนี้ที่ต้องเฝ้าระวังก็อยู่ที่ 3.5 เหมือนกัน ถ้าสองตัวรวมกันมันจะเป็น 7 ซึ่งมันไม่ดีมากๆ กับระบบธนาคาร

เมื่อถามว่าควรซื้ออสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาถูกในช่วงนี้ไหม อ.ทวีสุขกล่าวว่า สิ่งที่ต้องกังวล คือ ถ้าเกิดการระบาดรอบสอง ถ้าประเทศต้องไปกู้ต่างประเทศ หรือเกิดการทรุดตัวเศรษฐกิจฉับพลัน อัตราดอกเบี้ยที่เห็นวันนี้ถูกๆ จะตีกลับทันที ถึงเวลานั้นจะแบกดอกเบี้ยที่ขึ้นมาไหวไหม
กำลังโหลดความคิดเห็น