xs
xsm
sm
md
lg

จาก “หน้าผาหินถ้ำตะละเบ็ง” อาจารย์ราชภัฏภูเก็ตนำมาครีเอตเป็นลายผ้าบาติก "BeachHolic เสพติดทะเล"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



กระบี่ - จากความสวยงาม “หน้าผาหินถ้ำตะละเบ็ง” จังหวัดกระบี่ ราชภัฏภูเก็ตนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น ภายใต้ Beach wear collection "BeachHolic เสพติดทะเล" ส่งต่อให้ชุมชนสร้างรายได้
.
อาจารย์ชนาธินาถ ไชยภู หัวหน้าทีม หลักสูตรนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ : วิชาเอกนวัตกรรมแฟชั่นสิ่งทอ (Creative Product Innovation) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กล่าวถึงการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มลันตาบาติก จ.กระบี่ เพื่อให้ได้ลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ จนเป็นที่มาของ Beach wear collection ชื่อ "BeachHolic เสพติดทะเล" ซึ่งเป็นลายผ้าบาติกที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากความสวยงาม สีสันของหน้าผาหินถ้ำตะละเบ็ง บ้านทอนลิบง เกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ นำมาออกแบบลายผ้าที่แสนจะสวยงาม ว่า


ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยกลุ่มผ้าบาติกลันตาบาติก จ.กระบี่ เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ถูกคัดเลือกโดยจังหวัด เพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นครั้งนี้ ซึ่งมีหลักสูตรนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ CPI (Creative Product Innovation) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มลันตาบาติกในครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายสร้างสรรค์ผ้าบาติกลวดลายใหม่ ผสมผสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

หลังจากได้รับโจทย์ในการทำงาน ทางวิชาเอกนวัตกรรมแฟชั่นสิ่งทอ (Creative Product Innovation) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จึงได้น้อมนำพระบรมราโชบายของรัชการที่ 9 สู่การปฏิบัติ ออกแบบคิดสร้างสรรค์ผ้าบาติกลวดลายใหม่ ผสมผสานกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น รวมทั้งไลฟ์สไตล์ยุคใหม่เข้าด้วยกัน ก่อนส่งต่อให้แก่ชุมชนนำไปผลิตเป็นสินค้าชุมชนเพื่อสร้างเป็นอาชีพ เพิ่มทักษะด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์และชุมชน


ซึ่งก่อนเริ่มทำโครงการทางทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจปัญหาของแต่ละชุมชนว่าต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง หรือต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง โดยเราได้ลงพื้นที่บ้านทอนลิบง เกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีกลุ่มชุมชนที่ทำผ้าบาติก ชื่อ กลุ่มลันตาบาติก พร้อมโจทย์ของชุมชนว่าต้องการทำผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น จากการลงสำรวจพื้นที่ ทางทีมงานพบกับความสวยงาม สีสันของหน้าผาหินถ้ำตะละเบ็ง เกาะลันตา จ.กระบี่ ที่มีความสวยงามโดดเด่น โดยเฉพาะเวลาที่แสงแดดสาดส่องจะเห็นลายหินที่หน้าผามีความสวยงามชัดเจน ทั้งเรื่องของสีของหน้าผาที่มีสีสนกลมคลื่นกันได้ดี ทั้งสีน้ำตาล สีเทา สีดำ และอื่นๆ


จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจนำมาจรดบนผืนผ้าออกแบบลวดลายโดยใช้การเขียนลวดลายลงบนผืนผ้าด้วยเทคนิคบาติก แล้วสอนชาวบ้านเรื่องการจับคู่สี เทรนด์ตามฤดูการของแฟชั่น ทิศทางของแฟชั่น หลังจากนี้จะมีการตัดเย็บผ้าลายหน้าผาหินถ้ำตะละเบ็ง ออกมาเป็น Beach wear collection ชื่อ "BeachHolic เสพติดทะเล" โดยจะเปิดตัวเร็วๆ นี้


สำหรับกลุ่มลันตาบาติก ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่เลขที่ 91 หมู่ 6 ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มีนางสายชล ละงู เป็นประธานกลุ่ม พร้อมด้วยสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด 20 คน โดยจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ ทาง CPI ต้องการพัฒนาด้านลวดลายบนผ้ามห้เป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์ ทั้งเทคนิคการออกแบบเขียนลายบาติก และลายพิมพ์บาติก ศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์และบริบทชุมชนร่วมกัน


โดยการนำทฤษฎีสัญศาสตร์ที่มีผลต่อการรับรู้ทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในชุมชนท้องถิ่นนำมาใช้ในการออกแบบลวดลายเพื่อสร้างคุณค่าและการจดจำที่ดีต่อชุมชนโดยนำเอาความสวยงามทางธรรมชาติ สีสันของหินผาถ้ำตะละเบ็ง บ้านทอนลิบง เกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลาย และนำไปสู่การออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นชายหาด Beach wear collection ชื่อว่า "BeachHolic" ขณะนี้อยู่ในชั้นตอนการผลิต สำหรับคนที่สนใจสั่งจองผ้าบาติกลายหน้าผาถ้ำตะละเบ็งสามารถสอบถามรายละเอียดและสั่งจอดได้ที่ นางสายชล กลุ่มลันตาบาติก โทร.09-2982-9704
กำลังโหลดความคิดเห็น