นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ออกมาเตือน รพ.-สถานพยาบาลทอดทิ้งผู้ติดเชื้อ บุคคล-สถานที่ รู้มีผู้ป่วยแต่ไม่แจ้ง กระทั่งผู้ป่วยไม่ยอมเข้ามารักษา-ปกปิดข้อมูล ถือเป็นความผิดทุกกรณี มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ในส่วนผู้ป่วยที่ได้รับแจ้งผลการตรวจว่าติดเชื้อแล้วแต่ไม่ยอมเข้ารับการรักษาถือว่าเป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท รวมถึงกรณีผู้ที่ปกปิดข้อมูลหรือแจ้งข้อมูลเท็จก็จะมีโทษปรับเช่นกัน
วันนี้ (16 เม.ย.) “สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์” ออกมาโพสต์ข้อความเตือน รพ.-สถานพยาบาลทอดทิ้งผู้ติดเชื้อ บุคคล-สถานที่ รู้มีผู้ป่วยแต่ไม่แจ้ง กระทั่งผู้ป่วยไม่ยอมเข้ามารักษา-ปกปิดข้อมูล ถือเป็นความผิดทุกกรณี พบมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ในส่วนผู้ป่วยที่ได้รับแจ้งผลการตรวจว่าติดเชื้อแล้ว แต่ไม่ยอมเข้ารับการรักษา ถือว่าเป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท รวมถึงกรณีผู้ที่ปกปิดข้อมูลหรือแจ้งข้อมูลเท็จ ก็จะมีโทษปรับเช่นกัน
ทั้งนี้ จากกรณีกระทรวงสาธารณสุขได้รับการแจ้งเข้ามาว่ามีคลินิกหลายแห่ง เมื่อตรวจโควิดแล้วผลเป็นบวก กลับไม่ดำเนินการต่อให้ผู้ป่วย เกิดเป็นภาระของผู้ป่วยในการไปรักษาเอง อย่างไรก็ตาม “นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์” อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ระบุว่า
“กรมฯ ได้ออกประกาศกำหนดให้คลินิก และรพ.ทุกแห่ง โดยเฉพาะคลินิกที่ตรวจแล็บ ต้องได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วย และเมื่อตรวจผลเป็นบวก คือ ติดเชื้อแล้ว จะต้องแจ้งหน่วยงานที่ดูแลควบคุมโรคติดต่อ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกทั้งต้องประสานจัดหาเตียงให้ผู้ป่วย หากไม่ดำเนินการตามที่กำหนดนี้ ถือว่ามีโทษตามกฎหมาย”
“ตั้งแต่ประกาศโรคนี้เป็นโรคฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล และ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ สถานพยาบาลทุกแห่ง ทั้ง รพ.และคลินิก ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หากไม่ดำเนินการ มีโทษทั้งจำคุกและปรับ ขณะนี้พบ รพ.บางแห่งไม่ได้ปฏิบัติ กำลังดำเนินการลงโทษตามกฎหมาย จึงฝากถึงสถานพยาบาลเอกชนทุกแห่งให้ดำเนินการตามกฎหมาย” อธิบดี สบส.กล่าวย้ำ