xs
xsm
sm
md
lg

เพจกฎหมายชี้แจงประเด็นดรามา "ไม่รับปริญญา จะไม่รับเข้าทำงาน" ได้หรือไม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



เพจ "กฎหมายแรงงาน" ออกมาให้ความรู้ความเข้าใจประเด็นดรามา "ไม่เข้ารับปริญญา จะไม่รับเข้าทำงาน" ชี้เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ควรพิจารณาจากความรู้ความสามารถ อีกทั้งกลุ่มที่มีความคิดไม่เข้ารับปริญญาอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ

จากกรณีกลุ่มงานนโยบายสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ส่งตัวแทนร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ กรมสมเด็จพระเทพฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างมากมายนั้น

ต่อมา พญ.ลลิตา ธีระสิริ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี และนักเขียนชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กดึงสติเด็กรุ่นใหม่และนักศึกษา มช.ที่มีความคิดไม่รับปริญญา เตือนคิดให้ดีอนาคตเป็นของเรา อย่าตกเป็นเหยื่อใคร พร้อมกระซิบบอก ไม่รับปริญญาอาจไม่มีที่ไหนรับเข้าทำงาน

อย่างไรก็ตาม จากประเด็นดังกล่าวกลายเป็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์เป็นจำนวนมาก ทำให้เพจ "กฎหมายแรงงาน" ได้ออกมาโพสต์ข้อความในวันนี้ (15 ม.ค.) โดยได้ระบุข้อความว่า

"จากการที่แพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสต์ว่า "ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน" ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา และยังได้กล่าวไปถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งก็ถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัวโดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน
"เขา" ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจ

ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายคนอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

การวางกติกาว่าหากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้ แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดูเราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฏิบัติถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

การเลือกปฏิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคม จริงๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้จากการเลือกปฏิบัติในสังคมไทยมีหลายกรณี ดังนี้

1) การเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ
เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ ๕๕ ลูกจ้างชายเกษียณ ๖๐ ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติกรณีเกษียณเพราะเหตุความแตกต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ ๒๑๒๗/๒๕๕๕)

2) การเลือกปฏิบัติเพราะความพิการทางร่างกาย
เคสนี้น่าตกใจมากเพราะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฏิบัติผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๔๒/๒๕๔๗) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๖/๒๕๔๕)

3) การเลือกปฏิบัติเพราะผลการเรียน
เป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๕๘/๒๕๕๐) และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฏิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา"

อ่านโพสต์ต้นฉบับ
กำลังโหลดความคิดเห็น