xs
xsm
sm
md
lg

อย่าเอาไปอ้าง! “หม่อมกร” ชี้ พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ไทย-เวียดนาม ต่างจากกรณีไทย-กัมพูชา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“หม่อมกร” ชี้ พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียดนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามกฎหมายสากลโดยสุจริตใจ และมีพื้นที่ทับซ้อนไม่มากนัก แต่กรณีไทย-กัมพูชา เกิดขึ้นโดยไทยปฏิบัติตามกฎหมายสากลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายกัมพูชาลากเส้นโดยไม่มีกฎหมายใดรับรอง ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของไทยเกินสมควร เหตุใดรัฐบาลในปี 2544 ไม่ให้กัมพูชาลากเส้นใหม่ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ก่อนลงนาม MOU44

วันนี้ (26 ต.ค.) ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “คุยกับหม่อมกร” ว่า ความแตกต่างที่ต้องระวัง ระหว่างพื้นที่ทับซ้อน กรณีไทย-มาเลเซีย กรณีไทย-เวียตนาม และกรณีไทย-กัมพูชา (MOU 2544)

พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียตนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 1982 โดยสุจริตใจ และยังปรากฏพื้นที่ทับซ้อนขึ้นในปริมาณไม่มากนัก

1. ไทยและมาเลเซีย ตกลงพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันบนพื้น 7,250 ตร.กม.ที่กลางอ่าวไทยในปี 2523 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยเพราะขณะนั้นไทยมีความรู้ในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมน้อยมาก ภายใต้นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์


2. ไทยและเวียตนาม มีพื้นที่ทับซ้อนกันกลางอ่าวไทย เนื้อที่ 6,000 ตร.กม. เริ่มเจรจาปี 2535 ตกลงเลือกวิธีแบ่งเขตทางทะเล เมื่อ 9 ส.ค. 2540 ผลสําเร็จเกิดจากความจริงใจบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ ไทยได้เนื้อที่ 67.75% ส่วนเวียดนามได้ 32.25% เป็นผลงานภายใต้นายกรัฐมนตรี 2 ท่าน คือ นายชวน หลีกภัย และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ไทยใช้อำนาจอธิปไตยในทรัพยากรปิโตรเลียมได้อย่างเต็มที่


ขณะที่ พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ไม่มึอยู่จนกระทั่งการเกิดขึ้นของ MOU 2544 โดยไทยเพียงฝ่ายเดียวที่ปฏิบัติตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 1982 แต่ฝ่ายกัมพูชา ลากเส้นเขตแดนโดยไม่มีกฎหมายสากลใดๆ รับรอง ทับตั้งแต่ชายฝั่งทะเลตราด ซึ่งเป็นน่านน้ำภายใน ทับเกาะกูด ผ่ากลางอ่าวตัว ก ทับเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เส้นดังกล่าวของกัมพูชาจึงทับกับเส้นพระราชอาณาเขตบนแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการรัชกาลที่ 9 ที่ทรงประกาศไว้เมื่อปี 2516 ให้แก่ปวงชนชาวไทยทราบโดยทั่วกัน

ดังนั้น MOU 2544 เป็นเอกสารที่ยอมรับเส้นเขตแดนของกัมพูชาทั้งที่เส้นดังกล่าวไม่มีกฎหมายสากลรองรับ จึงมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของปวงชนชาวไทยภายในพระราชอาณาเขตเกินสมควร

จึงเกิดคำถามว่า เหตุใด รัฐบาลใน ปี 2544 จึงจัดการแตกต่างไปจากกรณี พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียตนาม โดยปล่อยให้ประเทศคู่สัญญาไม่ต้องยึดถือและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศอันเป็นเหตุให้ประเทศและปวงชนชาวไทยเสียเปรียบ ทั้งที่ ก่อนเข้าลงนาม MOU 2544 รัฐบาลไทยควรกำหนดให้กัมพูชาลากเส้นเขตแดนตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศเสียก่อน
กำลังโหลดความคิดเห็น