เปิดความเห็นแย้งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ชี้จำเลยคดีเปลี่ยนความเร็วรถช่วย "บอส อยู่วิทยา" กระทำเป็นขบวนการ -แบ่งหน้าที่กันทำ ซึ่งศาลสูงจะนำมาพิจารณาเพื่อพิพากษาคดีได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางคดีได้เผยแพร่คำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อท 131/2567 ที่อัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ ฟ้อง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร. นายเนตร นาคสุข อดีตรองอัยการสูงสุดกับพวกรวม 8 คนเป็นจำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157, 200, 83, 86 พรป.ประกอบรัฐธรรมนูญญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พรป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172,192
ซึ่งพิพากษาให้จำคุก นายเนตร นาคสุข จำเลยที่ 8 มีกำหนด 3 ปี และจำคุก นายชัยณรงค์ แสงทองอร่าม จำเลยที่ 4 มีกำหนด 2 ปี ส่วนจำเลยอีก 6 คนพิพากษายกฟ้อง
นอกจากนี้ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ยังได้เปิดเผยบันทึกความเห็นแย้งคำพิพากษา ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง (นายอุเทน ศิริสมรรถการ) ซึ่งเห็นว่าจำเลยในคดีนี้ มีการกระทำกันเป็นขบวนการ ลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ โดยระบุว่า
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 7 กระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์หรือไม่ โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 เวลาประมาณ 5.20 นาฬิกา นายวรยุทธ อยู่วิทยา ขับรถยนต์ยี่ห้อเฟอร์รารี่ หมายเลขทะเบียน ญญ-1111 กรุงเทพมหานคร ไปตามถนนสุขุมวิทฝั่งขาออก มุ่งหน้าไปทางพระโขนง เมื่อถึงบริเวณระหว่างปากซอย สุขุมวิท 47 กับ 49 ได้ชนท้ายรถจักรยานยนต์ตราโล่ หมายเลขทะเบียน 51511 ที่ดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ เป็นผู้ขับ รถจักรยานยนต์ล้มครูดไถลไปตามพื้นถนน หยุดอยู่ที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 49 ห่างจากจุดชนประมาณ 164.45 เมตร เป็นเหตุให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย และดาบตำรวจวิเชียรถึงแก่ความตาย
พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ทำการ สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในคดีจราจรที่ 632/2555 พยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวน รวบรวมไว้ประกอบสำนวนการสอบสวน มีรายงานกองพิสูจน์หลักฐาน กลุ่มงานตรวจทางเคมี ฟิสิกส์ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง ที่ 554509224 ลงวันที่ 26 กันยายน 2555 พันตำรวจเอกธนสิทธิ แตง จั่น นักวิทยาศาสตร์ (สบ 2) กลุ่มงานตรวจสอบทางเคมี ฟิสิกส์ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง ตรวจสอบ รถยนต์คันที่นายวรยุทธขับจากภาพของกล้องวงจรปิดและจากการวัดระยะจริงในสถานที่เดียวกันกับที่ ปรากฏในภาพ คำนวณอัตราความเร็วเฉลี่ยในช่วงที่รถยนต์ในภาพเคลื่อนที่เข้ามาทางขอบภาพทาง ด้านขวาจนถึงจุดที่เคลื่อนที่ออกจากขอบภาพทางด้านซ้าย เมื่อคำนวณได้อัตราความเร็วของรถยนต์โดย เฉลี่ยประมาณ 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การคำนวณดังกล่าวอาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากขึ้นหรือ น้อยลงประมาณ 17 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานแล้วมีความเห็นควร สั่งฟ้องนายวรยุทธ ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ต่อมา วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งฟ้องนายวรยุทธ ข้อหา ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่นเสียหายและมีผู้ถึงแก่ความตาย ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมาย กำหนด ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่น และไม่หยุดรถให้ความ ช่วยเหลือตามสมควร นายวรยุทธหลบหนีและถูกศาลอาญากรุงเทพใต้ออกหมายจับนายวรยุทธยื่นคำ ร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการ 14 ครั้งเก็บวัตถุพยาน รายงานการตรวจพิสูจน์ ภาพถ่ายรถยนต์คันเกิดเหตุ ภาพถ่าย รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ และคลิปภาพความเร็วของรถยนต์จากกล้องวงจรปิด เป็นต้น ไม่อาจ เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปได้
และเมื่อได้พิจารณาสภาพความเสียหายของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ภายหลังเกิดเหตุการชนแล้วปรากฏว่า รถยนต์ยี่ห้อเฟอร์รารี่ หมายเลขทะเบียน ญญ – 1111 กรุงเทพมหานคร ที่นายวรยุทธขับได้รับความเสียหายหลายรายการ ได้แก่ ด้านบนกึ่งกลางกันชนหน้ามี รอยบุบยุบ ด้านบนกันชนหน้าใกล้โคมไฟหน้าข้างซ้ายมีรอยครูดเศษสีน้ำตาลติดอยู่ กันชนหน้าและ กระจังหน้าใกล้กับโคมไฟหน้าข้างซ้ายมีรอยบุบยุบและพับงอเข้าไปด้านใน ส่วนล่างกันชนหน้าติดกับ ช่องตาข่ายข้างซ้ายมีรอยทะลุ แผ่นพลาสติกบริเวณด้านท้องรถส่วนหน้ามีรอยครูดถลอกเป็นทางยาว และมีรอยฉีกขาดเป็นช่องโหว่ ท่อยางของน้ำมันเพาเวอร์ฉีกขาดเป็นรูขนาดใหญ่ ขอบด้านหน้าข้างซ้าย ของฝากระโปรงหน้าบุบยุบโก่งงอและมีรอยครูดเป็นทางยาวที่ด้านบนของฝากระโปรงหน้าข้างซ้าย ทิศทางจากหน้าไปหลัง ข้างซ้ายของกระจกบังลมหน้ามีรอยแตกและมีเศษเส้นผมคราบโลหิตติดอยู่ กระปุกน้ำมันเพาเวอร์และหม้อน้ำระบายความร้อนในห้องเครื่องยนต์มีรอยแตกฉีกขาด ส่วน รถจักรยานยนต์ตราโล่ หมายเลขทะเบียน 51511 ที่ดาบตำรวจวิเชียรขับได้รับความเสียหายหลาย รายการ ได้แก่ คันบังคับเลี้ยวข้างซ้ายพับงอขึ้น ข้างขวาของหน้ากากรถจักรยานยนต์มีรอยครูดถลอกกับ พื้นถนน ชุดดิสเบรกล้อหน้าและขอบข้างขวาของกงล้อหน้ามีรอยครูดถลอก ท่อไอเสียพับงอขึ้น ปลาย ท่อไอเสียมีรอยบุบยุบและที่ด้านข้างของท่อไอเสียมีรอยครูดถลอก แกนข้างซ้ายและข้างขวาที่ยึดกงล้อ หลังเข้ากับโครงตัวถังรถด้านท้ายมีสภาพหักพับงอไปทางด้านหน้า หางปลาตั้งโซ่ข้างซ้ายมีสภาพพับงอ พลาสติกครอบโคมไฟท้ายแตก บังโคลนล้อหลังแตกฉีกขาด ข้างซ้ายของหน้ากาก ข้างซ้ายของถังน้ำมัน และที่พักเท้าข้างซ้ายครูดถลอกกับพื้น แผ่นป้ายทะเบียนรถพับงอและมีรอยครูดถลอกสีหลุดไปบางส่วน
จากสภาพความเสียหายของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า รถยนต์ชนกระแทกกับ รถจักรยานยนต์อย่างรุนแรง ทั้งที่ลักษณะการชนเป็นการที่รถยนต์ชนรถจักรยานยนต์จากทางด้านหลัง ในทิศทางเดียวกันมิใช่ชนในลักษณะทิศทางตรงกันข้ามหรือชนประสานงาอันจะทำให้เกิดแรงกระแทก เป็นทวีคูณ แต่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ก็ได้รับความเสียหายอย่างมาก ประกอบกับเมื่อได้พิจารณา ภาพจากคลิปภาพความเร็วของรถยนต์จากกล้องวงจรปิดขณะเกิดเหตุแล้ว ปรากฏว่ารถยนต์ที่นายวร ยุทธขับแล่นมาด้วยความเร็วสูง ทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า รถจักรยานยนต์ที่ดาบตำรวจวิเชียรขับอยู่ ด้านหน้ารถยนต์ของนายวรยุทธนั้นถูกรถยนต์ของนายวรยุทธชนและครูดไปตามถนนบริเวณที่เกิดเหตุ ยาวเป็นระยะทางไกลประมาณ 164.45 เมตร โดยไม่ปรากฏรอยห้ามล้อรถยนต์บริเวณจุดชนแต่อย่างใด จึงเป็นข้อสนับสนุนให้รับฟังข้อเท็จจริงได้อย่างมั่นคงว่า นายวรยุทธขับรถยนต์ชนดาบตำรวจวิเชียรที่ ขับรถจักรยานยนต์อยู่ด้านหน้าในทิศทางเดียวกันด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กิโลเมตร อย่างแน่นอน
ดังนั้น การที่พันตำรวจเอกธนสิทธิพยานผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจรถยนต์คันที่นายวรยุทธขับจากกล้องวงจร ปิดและจากการวัดระยะจริงในสถานที่เดียวกันกับที่ปรากฏในภาพ คำนวณอัตราเฉลี่ยในช่วงที่รถยนต์ใน ภาพเคลื่อนที่เข้ามาทางขอบภาพทางด้านขวาจนถึงจุดที่เคลื่อนที่ออกจากขอบภาพทางด้านซ้ายแล้วจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลุ่มงานการตรวจทางเคมี ฟิสิกส์ กองพิสูจน์หลักฐานกลางที่ 554509294 ลงวันที่ 26 กันยายน 2555 ว่า รถยนต์คันที่นายวรยุทธขับมีความเร็วโดยเฉลี่ย ประมาณ 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความคลาดเคลื่อนมากขึ้นหรือน้อยลงประมาณ 17 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง หรือมากขึ้นหรือน้อยลงประมาณ 10%
แต่ภายหลังการประชุมเพื่อแสดงวิธีการคำนวณ ความเร็วของรถยนต์ตามที่จำเลยที่ 7 นำเสนอแล้ว พันตำรวจเอกธนสิทธิกลับเปลี่ยนแปลงคำให้การเดิม โดยอ้างว่าคำนวณความเร็วของรถยนต์ผิดพลาด และให้การใหม่ต่อจำเลยที่ 3 ว่าคำนวณความเร็วของ รถยนต์ได้ 79.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงเป็นการคำนวณความเร็วของรถยนต์ที่แตกต่างและ คลาดเคลื่อนไปจากเดิมกว่า 1 เท่าตัว หรือกว่า 100% นับว่าเป็นเรื่องที่ผิดหลักวิชาการ ผิดปกติ ขัดต่อ สามัญสำนึก และเป็นพิรุธอย่างมาก
ซึ่งคดีนี้ข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนพยานพันตำรวจเอกธนสิทธิได้ส่ง บันทึกคำเบิกความ ตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นต่อศาล สรุปความได้ว่า เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 จำเลยที่ 3 ได้ไปพบพันตำรวจเอกธนสิทธิที่ทำงานพร้อมเอกสาร 1 ฉบับ เป็น หนังสือจากสำนักงานอัยการเพื่อสอบปากคำพันตำรวจเอกธนสิทธิเพิ่มเติม และแจ้งว่าจำเลยที่ 1 กับ อาจารย์อีกหนึ่งคนมาร่วมสอบปากคำด้วย และรออยู่ที่ห้องทำงานของพลตำรวจโทมนู เมฆหมอก (ยศ ในขณะนั้น) โดยขณะนั้นยังไม่ทราบว่าอาจารย์คนดังกล่าว คือจำเลยที่ 7 พันตำรวจเอกธนสิทธิแจ้งให้ จำเลยที่ 2 ทราบ จากนั้นพันตำรวจเอกธนสิทธิไปพบพันตำรวจเอกวิวัฒน์ สิทธิสรเดช กลุ่มงาน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่ห้องทำงาน เนื่องจากเห็นว่าจบปริญญาเอกด้านฟิสิกส์ และเชิญพันตำรวจเอกวิวัฒน์ไปที่ห้องทำงานของพลตำรวจโทมนูด้วย
เมื่อไปถึงพบจำเลยที่ 1 และที่ 3 อยู่กับพลตำรวจโท มนู จำเลยที่ 1 ขอดูแฟ้มจากจำเลยที่ 3 และกล่าวว่าสภาพการจราจรตามภาพ รถไม่อาจวิ่งเร็วได้มาก เพราะเริ่มมีการจราจรหนาแน่น จำเลยที่ 3 พูดว่า เป็นภาพวันรุ่งขึ้นจากวันเกิดเหตุเพียงนำมาประกอบ ในสำนวนเท่านั้น พันตำรวจเอกธนสิทธิคิดว่าน่าจะมีเรื่องต้องคุยกันยาวจึงแอบใช้โทรศัพท์ไอโฟน บันทึกเสียงการสนทนาไว้ เนื่องจากเกรงว่าจะจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ได้ไม่ครบถ้วน โดยขณะแอบ บันทึกเสียงการสนทนาโทรศัพท์อยู่ในกระเป๋าถือขนาดเล็กที่พันตำรวจเอกธนสิทธิพกติดตัว และไม่มี บุคคลอื่นทราบว่ามีการแอบบันทึกเสียงการสนทนาไว้ คลิปเสียงการสนทนามีเสียงของจำเลยที่ 1 พูด เป็นคนแรก ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปในห้องทำงานของพลตำรวจโทมนูและย้ายไปพูดคุยกันที่ห้อง ประชุม พันตำรวจเอกธนสิทธิพบจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นทนายความของนายวรยุทธ จำเลยที่ 7 และผู้ช่วยของจำเลยที่ 7 อยู่ในห้องประชุม จำเลยที่ 7 ได้แสดงวิธีการคำนวณหาความเร็วของรถยนต์ ยี่ห้อเฟอร์รารี่จากกล้องวงจรปิด คำนวณความเร็วรถได้ 79.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งแตกต่างจากการ คำนวณของพันตำรวจเอกธนสิทธิ
จากการสนทนาได้ความว่าไฟล์ของจำเลยที่ 7 ที่นำมาใช้คำนวณเป็น ไฟล์ภาพที่เกิดจากการใช้กล้องบันทึกภาพจากวีดีโอของกล้องวงจรปิด ซึ่งจะทำให้ช้ากว่าไฟล์กล้องวงจร ปิดถึง 4 เท่า ส่วนการคำนวณของพันตำรวจเอกธนสิทธิจะใช้ไฟล์จากกล้องวงจรปิดที่พนักงานสอบสวน ส่งมาให้ พันตำรวจเอกธนสิทธิจึงกลับไปที่ห้องทำงานและนำไฟล์จากกล้องวงจรปิดที่ใช้คำนวณเพื่อ ตรวจพิสูจน์ความเร็วมาให้คำนวณใหม่ จำเลยที่ 7 แจ้งว่าเมื่อใช้ไฟล์ที่ได้จากพันตำรวจเอกธนสิทธิ คำนวณจะได้ความเร็วลดลงจากที่คำนวณครั้งแรกความเร็ว 79.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยความเร็ว ของรถยนต์ที่ได้จากการคำนวณลดลงไปอีก จำเลยที่ 1 พูดถึงเรื่องการคำนวณความเร็วของพันตำรวจ เอกธนสิทธิในทำนองว่า การคำนวณจากระยะตามวิธีของพันตำรวจเอกธนสิทธิเป็นการคิดจากทฤษฎีในห้องทดลอง แต่ในความเป็นจริงแล้วความเร็วไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีเนื่องจากมีปัจจัยอื่นอยู่ด้วย พัน ตำรวจเอกธนสิทธิเห็นว่าการพูดดังกล่าวเป็นการพูดชี้นำให้เห็นว่าการคำนวณของพันตำรวจเอกธนสิทธิ ไม่ถูกต้อง จึงมีการพูดคุยกันแต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ต่อมาพันตำรวจเอกวิวัฒน์ได้เข้ามาในห้องประชุม และ ได้มีการร่วมพูดคุยแสดงความเห็นเกี่ยวกับวิธีการคำนวณความเร็วของรถยนต์ด้วย
โดยขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมแล้ว การพูดคุยยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องความเร็วของรถยนต์ จำเลยที่ 3 ได้ นำเอกสารบันทึกคำให้การของพันตำรวจเอกธนสิทธิที่เตรียมไว้แล้วมาให้พันตำรวจเอกธนสิทธิดู แต่พัน ตำรวจเอกธนสิทธิโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากตำแหน่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ (สบ 3) ไม่ใช่ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 2) เอกสารดังกล่าวมีข้อความคลาดเคลื่อน พันตำรวจเอกธนสิทธิจึงไม่ลงลายมือ ชื่อในบันทึกคำให้การดังกล่าว และแยกย้ายกันกลับ หลังจากนั้นพันตำรวจเอกธนสิทธิไม่แน่ใจว่าเป็น วันที่เท่าใดแต่เป็นเดือนมีนาคม 2559 พลตำรวจโทมนู จำเลยที่ 3 พันตำรวจเอกวิวัฒน์ และพันตำรวจ เอกธนสิทธิได้ประชุมกันอีกครั้งที่ห้องประชุมโดยมีจำเลยที่ 4 ที่ 5 และบุคคลไม่ทราบชื่ออีก 1 คนอยู่ ร่วมด้วย จำเลยที่ 2 ตามมาสมทบภายหลัง และมีการนำเอกสารคำให้การมาให้พันตำรวจเอกธนสิทธิดู และลงลายมือชื่อ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 พูดโน้มน้าวให้พันตำรวจเอกธนสิทธิลงลายมือชื่อในเอกสาร อ้างว่ามีคำสั่งให้สอบพันตำรวจเอกธนสิทธิเพิ่มเติมไว้แล้ว พันตำรวจเอกธนสิทธิจึงยอมลงลายมือชื่อใน บันทึกคำให้การดังกล่าว หลังจากนั้นพันตำรวจเอกธนสิทธิได้ย้ายไฟล์บันทึกเสียงจากโทรศัพท์มาเก็บไว้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะเกรงว่าข้อมูลอาจสูญหาย พันตำรวจเอกธนสิทธิไม่มั่นใจว่าวันที่บันทึกเสียง การสนทนาครั้งที่ 2 จะตรงกับวันที่ 6 มีนาคม 2559 หรือไม่ แต่วันแรกเป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 เนื่องจากบันทึกร่างคำให้การที่จำเลยที่ 3 จัดทำให้พันตำรวจเอกธนสิทธิดูนั้น ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่เป็นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ในภายหลัง
เหตุที่พันตำรวจเอกธนสิทธิลงลายมือชื่อในบันทึกคำให้การฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 และฉบับวันที่ 2 มีนาคม 2559 เนื่องจากถูกกดดันให้ยอมรับวิธีการคิดคำนวณความเร็วรถยนต์ของจำเลยที่ 7 จาก บุคคลที่ร่วมสอบปากคำ และก่อนที่พันตำรวจเอกธนสิทธิจะลงลายมือชื่อในบันทึกคำให้การทั้งสองฉบับ พลตำรวจโทมนูได้เรียกพันตำรวจเอกวิวัฒน์ไปพูดคุยกันนอกห้องประชุม เมื่อพันตำรวจเอกวิวัฒน์เดิน กลับมาที่ห้องประชุมมีสีหน้าเคร่งเครียด และบอกให้พันตำรวจเอกธนสิทธิรับวิธีการคำนวณของจำเลยที่ 7 พันตำรวจเอกเอกธนสิทธิเข้าใจว่าคงถูกกดดันจากผู้บังคับบัญชาให้ยอมรับวิธีคำนวณความเร็วรถยนต์ ของจำเลยที่ 7 พันตำรวจเอกธนสิทธิจึงจำใจต้องลงลายมือชื่อในคำให้การเพิ่มเติมทั้งสองฉบับ ใน ระหว่างการประชุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้มีการโทรศัพท์พูดคุยกับบุคคลภายนอกมีการเรียกชื่อว่า “พี่อ๊อด” และมีการปรับแต่งข้อความในบันทึกคำให้การจนเป็นที่พอใจก่อนที่จะให้พันตำรวจเอกธนสิทธิ ลงลายมือชื่อ หลังจากลงลายมือชื่อในคำให้การเพิ่มเติมแล้วพันตำรวจเอกธนสิทธิเกิดความไม่สบายใจ จึงได้มาทบทวนวิธีการคำนวณกับทีมงานตรวจพิสูจน์อีกครั้งและพบว่ามีความคลาดเคลื่อนสูง จึงแจ้งให้ จำเลยที่ 2 ทราบ จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 3 พร้อมเปิดเสียงลำโพงให้พันตำรวจเอกธนสิทธิได้ยินเสียง พันตำรวจเอกธนสิทธิจึงใช้โทรศัพท์บันทึกเสียงสนทนาไว้ ซึ่งตรงกับวันที่ 29 มีนาคม 2559 จำเลยที่ 3 แจ้งว่าส่งเรื่องให้อัยการแล้วไม่อาจแก้ไขได้ ประมาณปี 2563 มีกระแสข่าวว่ามีการ ช่วยเหลือสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธผู้บังคับบัญชาระดับสูงเรียกพันตำรวจเอกธนสิทธิไปสอบถามพันตำรวจ เอกธนสิทธิยืนยันความเร็วรถยนต์ 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคยให้ถ้อยคำกับจเรตำรวจและ 26 คณะกรรมการ ป.ป.ช ไว้แล้ว ต่อมาได้ให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดที่นายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน และพันตำรวจเอกธนสิทธิได้มอบคลิปเสียงที่บันทึกการสนทนาไว้ให้แก่ คณะกรรมการชุดดังกล่าว
และในการไต่สวนของศาล พันตำรวจเอกธนสิทธิได้เบิกความตอบทนายจำเลย ที่ 1 ขออนุญาตศาลถามว่า ก่อนวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ก่อนที่พันตำรวจเอกธนสิทธิจะไปบวชที่ประเทศอินเดีย พลตำรวจโทมนูได้เชิญพันตำรวจเอกธนสิทธิไปพูดคุยกับจำเลยที่ 1 ที่บ้านเกี่ยวกับ ความเร็วของรถยนต์ จำเลยที่ 1 พูดในทำนองว่าอยากจะให้ช่วยให้ความเร็วของรถยนต์ลดลง แต่ไม่ระบุ เฉพาะเจาะจงว่าให้ความเร็วต่ำกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่อย่างใด เห็นว่า ตามบันทึกถ้อยคำยืนยัน ข้อเท็จจริงหรือความเห็นของพันตำรวจเอกธนสิทธิที่ส่งต่อศาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความของพัน ตำรวจเอกธนสิทธิในชั้นไต่สวนพยานของศาลนั้น
พันตำรวจเอกธนสิทธิยืนยันว่าเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลง ความเร็วของรถยนต์จาก 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่คำนวณไว้ในครั้งแรกมาเป็นความเร็วของรถยนต์ 79.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามวิธีการคิดคำนวณของจำเลยที่ 7 เนื่องจากพันตำรวจเอกธนสิทธิถูก กดดันให้ยอมรับวิธีการคิดคำนวณของจำเลยที่ 7 จากบุคคลที่เข้าร่วมในการสอบปากคำพันตำรวจเอกธนสิทธิเพิ่มเติมทั้งสองครั้ง โดยก่อนที่พันตำรวจเอกธนสิทธิจะลงลายมือชื่อในบันทึกคำให้การเพิ่มเติม ทั้งสองฉบับ พลตำรวจโทมนูได้เรียกพันตำรวจเอกวิวัฒน์ไปพูดคุยกันนอกห้องประชุม เมื่อพันตำรวจเอก วิวัฒน์กลับมาที่ห้องประชุมมีสีหน้าเคร่งเครียด และบอกให้พันตำรวจเอกธนสิทธิรับวิธีการคำนวณของ จำเลยที่ 7 พันตำรวจเอกธนสิทธิเข้าใจว่าคงถูกกดดันจากผู้บังคับบัญชาให้ยอมรับวิธีการคิดคำนวณของ จำเลยที่ 7 พันตำรวจเอกธนสิทธิจึงจำใจต้องลงลายมือชื่อในบันทึกคำให้การเพิ่มเติมทั้งสองฉบับ ดังกล่าว พันตำรวจเอกธนสิทธิไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยทั้งแปดมาก่อน
นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงาน จำเลยที่ 2 เป็นผู้บังคับบัญชา ส่วนจำเลยที่ 3 เป็น บุคลากรในหน่วยงานเดียวกับพันตำรวจเอกธนสิทธิ จึงไม่มีเหตุผลใดที่พันตำรวจเอกธนสิทธิจะเบิกความ ต่อศาลเพื่อปรักปรำให้ร้ายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อีกทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวหากปรากฏสู่สาธารณชนแล้ว อาจทำให้ภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียหาย จึงไม่มีเหตุผล ใดที่พันตำรวจเอกธนสิทธิจะเบิกความทำลายภาพลักษณ์ขององค์กรตนเอง เชื่อว่าพันตำรวจเอกธนสิทธิ ให้ข้อเท็จจริงต่อศาลไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับคดีนี้มีการกันพันตำรวจเอกธนสิทธิ พลตำรวจโมมนู และพันตำรวจเอกวิวัฒน์ไว้เป็นพยานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 135 และพยานทั้งสามปากไม่ได้ถูกฟ้องเป็น จำเลย จึงสามารถรับฟังคำให้การที่ให้การไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคำเบิกความของพยานทั้งสามปากดังกล่าวในชั้นศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งแปดได้ ตามบันทึกถ้อยคำของพลตำรวจโท มนู ที่ให้การไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามบันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหา
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 นั้น พลตำรวจโทมนูให้การว่าข้อความที่มีการบันทึกการสนทนากันไว้นั้นมีการสนทนาพูดคุยกัน จริง และที่ข้าฯ เคยชี้แจงว่าพี่อ๊อด ในบทสนทนานั้น คือ พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง (หมายถึง จำเลยที่ 1) ข้าฯ ได้ตรวจสอบบันทึกการสนทนา ดังกล่าวมีข้าฯ เพียงผู้เดียวที่รู้จักชื่อเล่นของพลตำรวจ เอกสมยศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถยืนยันได้ว่า พี่อ๊อด คือพลตำรวจเอกสมยศ ส่วนกรณีที่ปรากฏในการ สนทนา ซึ่งมีบุคคลขอให้คำนวณความเร็วเป็น 79.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้าฯ ทราบชื่อภายหลังว่า นายชัยณรงค์ แสงทองอร่าม (หมายถึงจำเลยที่ 4) และเหตุที่บุคคลภายนอกรวมถึง อาจารย์สาย 27 ประสิทธิ์ เกิดนิยม (หมายถึงจำเลยที่ 7) เข้ามาสนทนาเปลี่ยนแปลงความเร็วนั้น ข้าฯ มิได้รู้มาก่อนว่า จะมีบุคคลภายนอกเข้ามา และข้าฯ เชื่อว่าเป็นการวางแผนของบุคคลภายนอกดังกล่าวที่เตรียมการเพื่อ มาสนทนาให้พันตำรวจเอกธนสิทธิ ให้การเปลี่ยนแปลงความเร็ว โดยข้าฯ ไม่มีส่วนร่วมวางแผนตั้งแต่ต้น ดังนั้นบุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นตัวการสำคัญ นอกจากนี้ที่ปรากฏบทสนทนา ข้าฯ พูดว่า “ที่ตายเยอะ ๆ อะนะ ไม่ คดียุคนี้ไม่มีติดคุกนะ แต่ทางพี่อ๊อดเขาอยากให้จบในชั้นอัยการ เขาจะ ได้จบเลยจะได้ไม่ต้องสืบ” นั้น สืบเนื่องมาจากพลตำรวจเอกสมยศ ได้พูดคุยกับข้าฯ ก่อนมีการบันทึก เทปและได้สนทนากับข้าฯ ในข้อความลักษณะดังกล่าว ข้าฯ จึงนำมาพูดในการสนทนาเรื่องความเร็ว ของรถยนต์ และในส่วนของพลตำรวจเอกสมยศนั้น ข้าฯ ไม่ได้ชักชวนให้ไปร่วมสนทนาด้วย
ความเร็ว โดยบันทึกคำให้การฉบับลงที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 มีการจัดทำบันทึกคำให้การในลักษณะที่ให้พัน ตำรวจเอกธนสิทธิสามารถนำวิธีการอื่นหรือวิธีการคิดคำนวณของจำเลยที่ 7 มาคำนวณได้ความเร็ว 79.23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และได้จัดทำบันทึกคำให้การอีก 1 ฉบับ ที่ลงวันที่ 2 มีนาคม 2559 เพื่อให้เห็นระยะเวลาที่ทอดออกไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าพันตำรวจเอกธนสิทธิมีโอกาสทบทวนแล้ว จึงมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วตามบันทึกคำให้การฉบับที่ 2 และตามบันทึกถ้อยคำของพันตำรวจเอกวิวัฒน์ ที่ให้การไว้ที่สำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 พันตำรวจเอกวิวัฒน์ให้การว่า เนื่องจาก ข้าฯ ตรึกตรองแล้วเห็นว่าการที่ข้าฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงความเร็วของรถยนต์เพื่อ ไม่ให้เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วของรถยนต์ ตามที่คำนวณไว้เดิมตลอดมา คำให้การขอพันตำรวจเอกธนสิทธิที่ให้การในชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคำเบิกความในชั้นศาลไม่ใช่เป็นการให้ถ้อยคำในลักษณะที่เป็นคำซัดทอดบุคคลอื่นเพื่อให้ตนเองพ้นผิด คำเบิกความของพันตำรวจเอกธนสิทธิ และคำให้การในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ของ พันตำรวจเอกธนสิทธิ พลตำรวจโทมนู และพันตำรวจเอกวิวัฒน์ จึงรับฟังเป็นพยานเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงการกระทำความผิดของผู้ร่วมกระบวนการทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นตัวการ สำคัญและผู้บงการโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งแปด
นอกจากนี้ตามเอกสาร การสนทนาเรื่องความเร็วของรถยนต์ที่ถอดจากคลิปบันทึกเสียงที่พันตำรวจเอกธนสิทธิแอบบันทึกการ สนทนาไว้ การสอบปากคำพันตำรวจเอกธนสิทธิเพิ่มเติมทั้งสองครั้งดังกล่าว เมื่อพิจารณาถ้อยคำพูดของผู้ที่เข้าร่วมประชุมแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มีการพูดในที่ประชุมในลักษณะโน้มน้าวให้พันตำรวจเอกธนสิทธิมีความเห็นคล้อยตามวิธีการคำนวณความเร็วรถยนต์ของจำเลยที่ 7 สอดคล้องกับคำเบิกความของ พันตำรวจเอกธนสิทธิ โดยบุคคลที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดไม่มีใครทราบมาก่อนว่าการประชุมเพื่อสอบปากคำเพิ่มเติม พันตำรวจเอกธนสิทธิมีการแอบบันทึกเสียงไว้ การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ของผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคน จึงสามารถแสดงความคิดเห็นและเจตนาของตนออกมาได้โดยไม่ต้องระมัดระวังคำพูด เช่น ในขณะมีการประชุมจำเลยที่ 1 พูดว่า “สิ่งหนึ่งที่ผมพูดคุยกับน้องมันไว้ ก็คือน้อง เนี่ยคำนวณจากระยะแล้วก็ออกมาเป็นความเร็ว ความเร็วที่คิด มันคิดจากทฤษฎีที่เป็นทฤษฎีที่คิดใน ห้องทดลอง ห้องทดลองก็จะอากาศเบาบาง คือมันพยายามให้คิดความเร็ว เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อ การทำมาร์เก็ตติ้ง ความเร็วเท่าไหร่ เร่งเท่าไหร่ แต่ว่าในความเป็นจริงทัศนวิสัย เช่นว่ายามเช้าอากาศ หนักอะไรอย่างเนี่ย ความเร็วไม่เป็นไปตามทฤษฎี นี่คือสิ่งที่ผมคิดนะ อย่างที่สองคือ ระยะทางที่ใช้ คำนวณหน้ากล้องหลังกล้อง ความเร็วอาจจะเปลี่ยนอาจจะเร็วขึ้นก็ได้ อาจจะลดลงก็ได้ ลดลงเพราะว่า ทัศนวิสัยการจราจรอะไรก็แล้วแต่ที่มันอยู่ข้างหน้า ซึ่งในกล้องมันไม่ปรากฏ นี่ผมคิดในมุมของผมแบบนี้ แต่ถ้ามันมีรูปภาพการจราจร อย่างที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน มันไม่มีทางเร็วขึ้นได้ มันก็ต้องเบรก กันตัวโก่งถ้าใครใช้ความเร็ว คือหลังจากพ้นกล้องแล้วไปเกิดอุบัติเหตุ อาจจะช้าลงก็ได้”
คันที่ 1 ขับชนครูดไปกับถนนเป็นระยะทาง 164.45 เมตร แล้วให้ผมไปการันตีรอยเนี่ยไม่ได้เกิดจากรอย ครูด ผมจะลงความเห็นตรงนี้ใช่ไหม” จำเลยที่ 4 พูดว่า “ถูกต้อง” พันตำรวจเอกธนสิทธิพูดว่า “จะให้ ผมลงความเห็นตรงนี้ได้อย่างไรครับ” จำเลยที่ 4 พูดว่า “พนักงานสอบสวนเนี่ยเอาแผนที่เกิดเหตุที่ให้ ดูก่อนแล้วในแผนที่ นี่นี่นี่ไงฮะ” พันตำรวจเอกธนสิทธิพูดว่า “ถูกแล้วฮะ ผมเห็นแล้วหละ ในใบเนี่ยของ น้องที่เกิดเหตุเค้าทำแผนที่นี่แหละ แล้วเค้าก็เซ็นรับรองอยู่ในสำนวนของที่เกิดเหตุ” จำเลยที่ 3 พูดว่า “ครับ ครับ” พันตำรวจเอกธนสิทธิ พูดว่า “เค้ามีแผนที่ที่เกิดเหตุแล้วก็รับรองสำเนาผลการตรวจแล้ว ทำแผนที่เกิดเหตุของน้อง (คุยกันก่อนดิ) ของผู้กองทศพล แผนกตรวจที่เกิดเหตุแล้วมีแผนที่ที่เกิดเหตุ” จำเลยที่ 4 พูดว่า “เรียนอย่างนี้ฮะ เนื่องจากอัยการสูงสุดสั่งให้สอบคุณธนสิทธิคนเดียว โดยให้คำนึงถึง สภาพพวกนี้ พนักงานสอบสวนก็ต้องเอาแผนที่มาให้ดูเพราะเขาพูดถึงรอยครูด 164.45 เมตร ในเมื่อ 164.45 เมตร จะครูดจริงไม่จริงคุณธนสิทธิก็ต้องมาดูแผนที่เกิดเหตุ ถ้าแผนที่เกิดเหตุที่ทำดูแล้วเนี่ย รอยครูดมันปรากฏแค่จุดที่ 8 แต่ละจุดเนี่ยมันจะมาครูดอยู่ 5 รอย นะครับ รอยที่ 1 เค้าจะระบุไว้เลย ตรงหมายเลข 2 นะครับ ครูดอยู่” พันตำรวจเอกธนสิทธิ พูดว่า “เอาอย่างนี้ดีกว่า ถ้างั้นผมพูดตามที่ ของน้องที่เกิดเหตุเค้าทำแผนที่ได้ไหมครับ เพราะว่าต้องมีเซ็นรับรองของเค้าครับ รับรองตัวแผนที่ว่า แผนที่ที่ทำมา ทำโดยของตัวร้อยเวรที่เกิดเหตุแล้วรอยต่าง ๆ มันก็มีเหมือนกัน”
ตามข้อเท็จจริงที่ได้จาก การถอดเทปการสนทนานั้น นอกจากจะมีการให้พันตำรวจเอกธนสิทธิลดความเร็วของรถคันที่นายวรยุทธขับแล้ว ยังจะให้มีการเปลี่ยนแปลงรอยครูดบนถนนในที่เกิดเหตุด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็ว ของรถยนต์ที่ลดลง การบันทึกเสียงการสนทนาดังกล่าวพันตำรวจเอกธนสิทธิไม่น่าจะมีการตัดต่อ ข้อความที่บันทึกเสียงไว้ เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องทำพยานหลักฐานปรักปรำให้ร้ายอดีต ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของตน อีกทั้งเป็นทำลายภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรม รวมถึง สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานของตนเองอีกด้วย ความเร็วของรถยนต์ที่นายวรยุทธขับ ถ้ามีความเร็วเกินกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ความเร็วของรถยนต์ จึงเป็นส่วนสำคัญในการที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของนายวรยุทธเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่ ความเร็วของรถยนต์จึงเป็นองค์ประกอบความสำคัญ ในคดีนี้
คุ้มครองสิทธิของนายวรยุทธผู้ต้องหา ส่วนจำเลยที่ 5 เป็นทนายความของผู้ต้องหา จึงไม่ควรที่จะอยู่ร่วมในการสอบปากคำพันตำรวจเอกธนสิทธิซึ่งเป็นพยานฝ่ายผู้กล่าวหา ประกอบกับ หากนายวรยุทธผู้ต้องหาขอความเป็นธรรมโดยอ้างว่าการคำนวณความเร็วรถยนต์ของพันตำรวจเอกธน สิทธิไม่ถูกต้อง ความเร็วของรถยนต์ควรคำนวณตามวิธีการของจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะ นำพยานมาให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนก็ควรที่จะสอบปากคำจำเลยที่ 7 ไว้เป็นพยานของฝ่ายผู้ต้องหา และนำคำให้การดังกล่าวมาประกอบสำนวนสอบสวนเพื่อใช้ในการวินิจฉัยสั่งคดีต่อไป ไม่ควรที่จะให้ จำเลยที่ 7 มาแสดงวิธี การคำนวณความเร็วรถยนต์ เพื่อให้พันตำรวจเอกธนสิทธิเปลี่ยนแปลงคำให้การ เกี่ยวกับความเร็วรถยนต์ตามที่ให้การไว้เดิม
ความเร็วของรถยนต์คันที่นายวรยุทธ ขับให้ลดลงเหลือต่ำกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกินกว่าความเร็วที่กฎหมายกำหนดและเพื่อช่วยเหลือนายวรยุทธในการที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึง แก่ความตาย และพันตำรวจเอกธนสิทธิลงลายมือชื่อในคำให้การเปลี่ยนแปลงความเร็วของรถยนต์ใน การสอบสวนเพิ่มเติมทั้งสองครั้ง เนื่องจากถูกโน้มน้าว กดดันให้ลงลายมือชื่อ โดยไม่ได้ลงลายมือชื่อใน บันทึกคำให้การด้วยความสมัครใจ
จำเลยที่ 8 วินิจฉัยสั่งคดีโดยไม่ฟ้องนายวรยุทธในข้อหา ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายทั้งที่ก่อนหน้านั้นพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดีได้มี คำสั่งฟ้องนายวรยุทธในข้อหาดังกล่าวไว้แล้ว การกระทำของจำเลยทั้งแปดมีเจตนาช่วยเหลือนายวรยุทธ เพื่อไม่ให้ต้องรับโทษในความผิดในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่ใน การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดและความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ส่วนจำเลยที่ 8 เป็น พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยสั่งคดี จำเลยที่ 3 และที่ 8 ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนต่อ กฎหมายเพื่อช่วยเหลือนายวรยุทธไม่ให้ต้องได้รับโทษ
การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 8 จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 7 ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนและในการวินิจฉัยสั่งคดี ความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเป็น คุณสมบัติเฉพาะตัวของเจ้าพนักงานแม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 7 จะร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 8 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดในฐานะตัวการ เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการ กระทำความผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 8 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86